ในเนื้อหานี้จะพูดถึงเรื่องของ user เช่น การเพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูลของ user โดยเริ่มจาก
1 การเพิ่ม User
การเพิ่ม user นั้นสามารถทำได้ 2 วิธีโดยใช้ฟังก์ชัน wp_create_user()
หรือ อาจใช้ wp_insert_user()
ไวยากรณ์ wp_create_user()
wp_create_user( string $username, string $password, string $email = '' )
- $username กำหนดชื่อผู้ใช้
- $password กำหนดรหัสผ่าน
- $email กำหนดอีเมลล์ (กรณีไม่มีการกำหนดค่าอีเมลล์ ค่าเริ่มต้นคือ ‘’)
ตัวอย่างการใช้ wp_create_user()
function wp_create_user_func( $username, $password, $email = '' ) { $user_login = wp_slash( $username ); $user_email = wp_slash( $email ); $user_pass = $password; $userdata = compact( 'user_login', 'user_email', 'user_pass' ); return wp_insert_user( $userdata ); }
จากตัวอย่างด้านบน
- สร้างฟังก์ชัน
wp_create_user_func()
เพื่อใช้ในการเพิ่ม user - ภายในฟังก์ชันที่สร้างขึ้นได้กำหนดอาร์กิวเมนต์ 3 ตัวเพื่อรับพารามิเตอร์ ชื่อผู้ใช้ , รหัสผ่าน และ อีเมลล์ตามลำดับ
- ภายในฟังก์ชันสร้างตัวแปร 3 ตัวเพื่อเก็บค่าพารามิเตอร์ที่ส่งมา จากนั้นสร้างตัวแปรขึ้นอีกหนึ่ง 1 ชื่อ $userdata เพื่อใช้ในการเก็บก้อนข้อมูลที่ถูกรวบรวมไว้โดยคีย์เวิร์ด compact
- return ฟังก์ชัน
wp_insert_user()
ที่ภายในมีกลุ่มข้อมูลจากตัวแปร $userdata (เพิ่มข้อมูลเรียบร้อย)
ไวยากรณ์ wp_insert_user()
wp_insert_user( array|object|WP_User $userdata )
- $userdata สามารถเป็นได้ทั้งข้อมูลที่เป็นอาเรย์ วัถตุ
ตัวอย่างการใช้ wp_insert_user()
$username = $_POST['username']; $password = $_POST['password']; $website = $_POST['website']; $user_data = [ 'user_login' => $username, 'user_pass' => $password, 'user_url' => $website, ]; $user_id = wp_insert_user($user_data); // success if (!is_wp_error($user_id)) { echo 'User created: ' . $user_id; }
จากตัวอย่างด้านบน เป็นการเพิ่มข้อมูลโดยใช้ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของอาเรย์ที่ชื่อว่า $user_data จากนั้นทำการเพิ่มข้อมูลโดยใช้ฟังก์ชัน wp_insert_user()
ที่ภายในมีตัวแปร $user_data ซึ่งบรรจุข้อมูลของผู้ใช้ไว้นั่นเอง
2 การอัพเดท User การอัพเดทข้อมูล user นั้นก็สามารถทำได้โดยฟังก์ชัน wp_update_user()
ไวยากรณ์
wp_update_user( array|object|WP_User $userdata )
- $userdata สามารถเป็นข้อมูลประเภทอาเรย์ หรือวัตถุก็ได้
ตัวอย่าง wp_update_user()
function update_user($id){ $user_id = $id; $website = 'https://narasak.com'; $user_id = wp_update_user( [ 'ID' => $user_id, 'user_url' => $website, ] ); if (!is_wp_error($user_id)) { echo "อัพเดทข้อมูลสำเร็จ"; } else { echo "update ข้อมูลไม่สำเร็จ"; } }
3 การลบข้อมูล สามารถทำได้โดยใช้ฟังก์ชัน wp_delete_user()
ไวยากรณ์
wp_delete_user( int $id, int $reassign = null )
- $id ระบุไอดีของ user
- $reassign กำหนดโพสต์และลิงก์ไปยัง UserID ใหม่ (ค่าเริ่มต้นเป็น null)
ตัวอย่าง wp_delete_user()
function delete_user($id){ $user_id = $id; $reassign = null; return wp_delete_user($user_id, $reassign); }
จากตัวอย่างด้านบนเป็นการสร้างฟังก์ชันชื่อ delete_user()
เพื่อใช้ในการลบข้อมูล user โดยมีการกำหนดอาร์กิวเมนต์ 1 ตัว เพื่อรับไอดีของ user ที่ต้องการลบ และเก็บไว้ที่ตัวแปรภายในฟังก์ชันชื่อ $user_id จากนั้นทำการ return ฟังก์ชัน wp_delete_user()
เพื่อลบข้อมูล user